ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

นิสสัน ซิลฟี่

นิสสัน บลูเบิร์ด ซิลฟี (Nissan Bluebird Sylphy) หรือเรียก นิสสัน ซิลฟี (Nissan Sylphy) เป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็ก (Compact Car) ผลิตโดยนิสสัน เริ่มการผลิตใน พ.ศ. 2543 เพื่อทดแทนรถยนต์รุ่นก่อนหน้าคือ นิสสัน ซันนี่ และ นิสสัน บลูเบิร์ด ซึ่งทั้ง 2 รุ่นนี้ได้ยุติการผลิตและการทำตลาดแล้ว

ในความจริงแล้ว บลูเบิร์ดและบลูเบิร์ด ซิลฟีเป็นรถต่างประเภทกัน โดยนิสสัน บลูเบิร์ด เป็นรถยนต์นั่งขนาดกลาง ส่วนบลูเบิร์ด ซิลฟี เป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็ก ผลิตมาแล้วถึง 3 เจนเนอเรชั่นด้วยกัน โดยรุ่นปัจจุบันได้ตัดคำว่า บลูเบิร์ด ออกไป คงเหลือเพียงคำว่าซิลฟีเท่านั้น

ในประเทศไทย เคยนำบลูเบิร์ด ซิลฟี Generation ที่ 1 มาผลิตและจำหน่ายในช่วง พ.ศ. 2543-2549 โดยบริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และยังมีให้เห็นทั่วไป จนมาถึง Generation ที่ 2 รุ่นนี้ไม่มีขายในไทย จนในปี พ.ศ. 2555 ได้นำกลับมาผลิตและจำหน่ายในประเทศไทยอีกครั้ง ใน Generation ที่ 3

นิสสัน บลูเบิร์ด ซิลฟี รุ่นที่ 1 ผลิตครั้งแรกในปี พ.ศ. 2543 ใช้รหัสคือ G10 มีเครื่องยนต์ให้เลือก 4 แบบ มีเครื่องยนต์ 1.5 1.6 1.8 และ 2.0 ลิตร มีชื่อในการส่งออกคือ นิสสัน พัลซาร์ (ประเทศออสเตรเลีย) นิสสัน ซันนี่ (ประเทศไทย, สิงคโปร์, ฮ่องกง และในแถบตะวันออกกลาง) นิสสัน เซนทรา (ประเทศไต้หวัน, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย) นิสสัน อัลเมรา (ประเทศบรูไน)

มีการไมเนอร์เชนจ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2547 โดยปรับกระจังหน้าให้คล้ายนิสสัน เทียน่า และเลิกผลิตในปี พ.ศ. 2549

โฉมนี้ เคยนำมาขายในไทยอย่างเป็นทางการ โดยเป็นที่รู้จักของคนไทยในชื่อ นิสสัน ซันนี่ นีโอ ช่วงปี พ.ศ. 2543-2549 เป็นตลาดที่ 2 ต่อจากญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2543 และถูกนำไปดัดแปลงเป็น Almera Sedan สำหรับตลาดยุโรป Pulsar Sedan ในออสเตรเลีย และ Sunny Almera ในประเทศไทย เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2545 ใช้เครื่องยนต์ 1.8 ลิตร แต่มียอดขายไปได้เรื่อยๆ ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เนื่องจากการเปิดตัว Toyota Corolla Altis สำหรับตลาดเอเชีย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี พ.ศ. 2544 ในตลาดไต้หวัน และเปิดตัวในไทยในงาน Bangkok Motor Show 2001 เริ่มขายจริงเมื่อเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน ทำให้ตลาดกลุ่มนี้มีการแข่งขันกันอย่างลุกเป็นไฟ และทำให้รถยนต์ทุกรุ่น ทุกยี่ห้อที่อยู่ในตลาดช่วงนั้น รวมถึง Sunny Neo กลายเป็นรถยนต์ที่เชย และล้าสมัยไปเพียงชั่วข้ามคืน มียอดขายพอประคองตัวให้อยู่รอดได้เท่านั้น และยังทำให้ยอดขายของนิสสันในไทยในช่วงนั้นเริ่มถดถอย เนื่องจากบริษัทแม่ต้องการเข้ามาทำตลาดเอง แต่สยามกลการ ในฐานะผู้ถือสิทธิ์การผลิต นำเข้าและจำหน่ายนิสสันไม่ยอม ทำให้บริษัทแม่ตัดการช่วยเหลือ และสนับสนุนรถรุ่นใหม่ๆ มาทำตลาด ทั้ง X-Trail รุ่นแรกและ Navara สูญเสียโอกาสทำตลาดช้าไปหลายปี ในที่สุด หลังจากเจ้าสัวถาวร พรประภาถึงแก่อนิจกรรมไปได้พักใหญ่ การเจรจากับทางญี่ปุ่นลงตัว นิสสันจึงเข้ามาเพิ่มทุนในสยามกลการ 7.6 พันล้านบาท พร้อมก่อตั้ง Siam Nissan Automobile ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น Nissan Motors Thailand ในปี พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน

โฉมนี้มีการผลิตเกียร์ 2 รูปแบบ คือ เกียร์ธรรมดา 5 สปีด และเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด (โฉมนี้ยังไม่มีการผลิตเกียร์ CVT)

นิสสัน บลูเบิร์ด ซิลฟี รุ่นที่ 2 ผลิตครั้งแรกในปี พ.ศ. 2549 รหัสคือ G11 มีเครื่องยนต์ให้เลือก 3 แบบ คือ 1.5 1.6 และ 2.0 ลิตร โดยได้เลิกผลิตรุ่นเครื่องยนต์ 1.8 ลิตร มีชื่อในการส่งออกชื่อเดียวคือ นิสสัน ซิลฟี (ประเทศจีน) โดยโฉมนี้ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย ทั้งที่เหมาะจะนำมาประกอบขายในไทยมากกว่า เพราะถูกออกแบบให้มีห้องโดยสารที่หรูหรากว่า เอาใจชาวเอเชียอย่างชัดเจน ต่างจาก Tiida ที่ถูกออกแบบมาเพื่อชาวญี่ปุ่น ซึ่งชอบรถขนาดเล็ก แต่มีภายในใหญ่โตเท่าที่จะทำได้ แต่เนื่องจากความต้องการที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค ทำให้แนวทางการพัฒนาไม่ชัดเจน ส่งผลให้ไม่สามารถทำต้นทุนให้ต่ำลงได้ โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีอำนาจการต่อรองไม่สูงเท่าาสหรัฐอเมริกาและจีน ทำให้ราคาขายปลีกสูงกว่าที่ตั้งใจไว้ ทำให้ Tiida ถูกนำมาผลิตและจำหน่ายในประเทศไทยแทน แม้จะไม่สามารถบอกว่าเป็นรุ่นที่ทดแทน Sunny NEO ได้อย่างเต็มปาก หากแต่ว่าต้องทำตลาดแทน Sunny Neo ที่ยุติบทบาทไปแล้วเท่านั้น

มีเกียร์ 3 แบบให้เลือก คือ เกียร์ธรรมดา 5 สปีด เกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด และเกียร์ CVT โดยโฉมนี้เป็นโฉมสุดท้ายที่มีการผลิตเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีดขาย และโฉมต่อไปนี้จะไม่มีอีก หลังจากนั้นนิสสันที่ประเทศรัสเซียก็นำมาผลิตหลังจากตกรุ่นแล้วโดยใช้ชื่อว่านิสสัน อัลเมราโดยออกแบบภายในหลายๆอย่างใหม่อีกด้วย

นิสสัน บลูเบิร์ด ซิลฟี รุ่นที่ 3 ผลิตครั้งแรกในปี พ.ศ. 2555 โดยเปิดตัวครั้งแรกที่ประเทศจีน และมีการเข้าไปเปิดตัวแล้วถึง 5 ประเทศ คือ ประเทศจีน ไทย อเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ โดยมีแผนส่งเข้าไปตลาดในอีก 120 ประเทศทั่วโลกในปี ค.ศ. 2014 รหัสคือ B17 มีเครื่องยนต์เพียง 2 ขนาด คือ 1.6 และ 1.8 ลิตร โดยได้นำรุ่น 1.8 ลิตรกลับมาผลิตอีกครั้ง มีเกียร์ 2 แบบให้เลือกซื้อ คือเกียร์ธรรมดา 5 สปีด และเกียร์ CVT

โฉมนี้ ทางนิสสัน มอเตอร์(ประเทศไทย) ได้นำกลับมาผลิตและจำหน่ายอีกครั้ง ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 โดยมีอารยา เอ ฮาร์เก็ต และธนวรรธน์ วรรธนะภูติ เป็นพรีเซนเตอร์อีกด้วย


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

แรง (ฟิสิกส์) ความยาว การเคลื่อนที่ ทฤษฎีเคออส กลศาสตร์แบบลากรางช์ เอนริโก แฟร์มี สมมาตรยิ่งยวด CERN Large Hadron Collider ไอน์สไตน์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป กาลิเลโอ ฟิสิกส์อนุภาค วิศวกรรมวัสดุ เซมิคอนดักเตอร์ นาโนเมตร วัสดุนาโน วัสดุฉลาด วัสดุเชิงก้าวหน้า วัสดุชีวภาพ พอลิเมอร์ เซรามิก สเปกโตรสโกปี อุณหเคมี ไฟฟ้าเคมี เคมีเชิงฟิสิกส์ โลหะอินทรีย์เคมี เคมีพอลิเมอร์ เคมีนิวเคลียร์ ชีววิทยาโมเลกุล เคมีเวชภัณฑ์ เคมีดาราศาสตร์ เคมีไคเนติกส์ สารประกอบอนินทรีย์ สารประกอบเคมี สารประกอบ John Dalton ทฤษฎีโฟลจิสตัน อ็องตวน ลาวัวซีเย Robert Boyle ปฏิกิริยาเคมี รายชื่อคณะวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย เคมีสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม Social psychology วิทยาศาสตร์สังคม เทคนิคการแพทย์ เวชศาสตร์ พยาธิวิทยา เนื้องอกวิทยา ทัศนมาตรศาสตร์ Pharmacy บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ วิทยาศาสตร์พุทธิปัญญา สารสนเทศศาสตร์ วิทยาการสารสนเทศ สัตววิทยา วิทยาไวรัส ประสาทวิทยาศาสตร์ อณูชีววิทยา จุลชีววิทยา วิทยาภูมิคุ้มกัน มีนวิทยา มิญชวิทยา กีฏวิทยา Developmental biology วิทยาเซลล์ ชีววิทยาของเซลล์ วิทยาแผ่นดินไหว ชลธารวิทยา สมุทรศาสตร์ เคมีความร้อน เคมีไฟฟ้า เคมีการคำนวณ เคมีวิเคราะห์ Particle physics พลศาสตร์ของไหล พลศาสตร์ สวนศาสตร์ ฟิสิกส์เชิงทฤษฎี โป๊ป ความเรียง เรอเน เดส์การตส์ การสังเกต การทดลอง ฟรานซิส เบคอน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความรู้เชิงประจักษ์ คณิตตรรกศาสตร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ไม้บรรทัด กระดูกนาเปียร์ ลูกคิด การแข่งขันคณิตศาสตร์ รางวัลอาเบล เหรียญฟิลด์ส ปัญหาของฮิลแบร์ท กลุ่มความซับซ้อน พี และ เอ็นพี ข้อความคาดการณ์ของปวงกาเร สมมติฐานความต่อเนื่อง

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
240
241
242
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 24187